บทที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

  • เทคโนโลยี
  • สารสนเทศ
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ข้อมูล
  • ฐานความรู้
  1. เทคโนโลยี
  เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

Technology

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยี มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
          1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้ เที่ยงตรงและรวดเร็ว
          2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด
          3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก

ความสำคัญของเทคโนโลยี
          1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
          2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
          3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ

          ในช่วงสองทศวรรษทีผ่านมา วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation) ซึงก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกทีเ รียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ทีเข้ามาสู่ทุกประเทศอย่าง รวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอ นิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื อนไหวต่างๆ ได้พร้อมกัน สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยี กำลังทำให้โลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ

วิวัฒนาการเทคโนโลยี (Evolution of Technolgy)
          เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไปขั้นตอนการเปลี่ยนนแปลงขึ้นอยู่กับกระบวนการทางวิวัฒนาการ (Evolution) ของระบบหรือเครื่องมือนั้นๆ ดังนั้นคำว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยี (Evolution of Technology) จึงหมายถึง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบหรือเครื่องมือที่เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับอย่างต่อเนื่องอันมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ

วิวัฒนาการสามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค
          - ยุคหิน (Stone age)
          - ยุคทองสัมฤทธิ์ ( Bronze age)
          - ยุคเหล็ก (Iron age)
          - ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
          - ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th Century)

ความสัมพันธ์ระหว่าง เทคโนโลยี กับ นวัตกรรม
          คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้ว นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรม และ เทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ

   2.สารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
   1. ให้ความรู้
   2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
   4. สามารถประเมินค่าได้
แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
   1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน
   2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ
ประโยชน์ของสารสนเทศ
   1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
   3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
   4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
   5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน
แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ

   1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
   2. การตรวจสอบข้อมูล
   3. การประมวลผล
   4. การจัดเก็บข้อมูล
   5. การวิเคราะห์
   6. การนำไปใช้
                            ในปัจจุบันสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก    ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา  เศรษฐกิจ  สังคม  หรือแม้แต่การเมืองการปกครอง  ที่สารสนเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง  ซึ่งอาจจะเรียกยุคนี้ว่าเป็น  ยุคสังคมสารสนเทศ  หรือ  Information Age Society  ที่ข้อมูลข่าวสาร  สารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาให้มีความก้าวหน้าและพัฒนาประเทศ  ซึ่งมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนหรือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ซึ่งทุกศาสตร์  ทุกวงการ  ล้วนนำสารสนเทศเข้าไปใช้ประโยชน์หรือใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาต่างๆ  จากคำกล่าวที่ว่า  Information is Power  หรือ  สารสนเทศคืออำนาจ  สามารถชี้วัดได้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรได้  โดยสารสนเทศนั้นก่อให้เกิดแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ  และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น   หากบุคคลากรในองค์กรรู้จักใช้สารสนเทศมาปรับปรุงการดำเนินงาน  พัฒนางานที่กำลังกระทำอยู่ ก็จะเป็นการช่วยพัฒนาองค์กรในทางอ้อม  ทั้งนี้เพราะสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างกว้างๆ คือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศที่เป็นตัวอย่างในการใช้หรือบริโภคสารสนเทศ  เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุดในปัจจุบัน   เป็นที่ยอมรับกันว่าประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และเศรษฐกิจ มากที่สุดในเอเชีย ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จและพัฒนาให้ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในระดับชั้นนำของโลกได้นั่น เป็นเพราะว่า ประเทศญี่ปุ่นเห็นความสำคัญของสารสนเทศ  มีการเรียนรู้การใช้สารสนเทศได้เป็นอย่างดี   สังคมในปัจจุบันมีลักษณะเป็นสังคมข่าวสาร  ที่มีการพัฒนาประเทศทุกด้านอย่างกว้างขวาง  มีการค้นคว้า  การวิจัย  การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ขึ้นมา  ซึ่งก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ  ที่ล้วนต้องการสารสนเทศมากขึ้น  และทำให้ปริมาณสารสนเทศมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ซึ่งส่งผลกระทบถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภคสารสนเทศอย่างมากในการที่จะเข้าตัวสารสนเทศได้ตามที่ต้องการ
                การรู้สารสนเทศ หมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ     การเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ และนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนร่วม  
                ในยุคสมัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไร้ขีดจำกัด  การรู้สารสนเทศในแต่ละคนแต่ละพื้นที่จึงเป็นสิ่งจำเป็น และยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น  กับการเปลี่ยนของเทคโนโลยีในสังคมสารสนเทศ  ได้มีนักสารสนเทศศึกษาและเล็งเห็นความสำคัญของการรู้สารสนเทศ  โดยสรุปถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศในแง่มุมที่น่าสนใจ ดังนี้
1. เป็นการแสวงหาสารสนเทศตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ได้รับรู้โอกาสในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและแยกแยะแหล่งสารสนเทศได้
3. ได้วิเคราะห์และเลือกใช้สารสนเทศจากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ เช่น จากคอมพิวเตอร์ และจากเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นๆ
4. มีความสะดวกต่อการใช้มวลชนที่หลากหลายที่เหมาะสมที่สุด
5. มีความระมัดระวังต่อการใช้สารสนเทศทั้งที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้
6. สามารถถ่ายทอดสารสนเทศที่รู้ให้ผู้อื่นทราบได้
การรู้สารสนเทศมีบทบาทและความสำคัญต่อการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เนื่องจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ต่างตระหนักถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศ ว่าเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เพราะการรู้สารสนเทศทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นกลไกนำพาให้บุคคลมีการพัฒนาคุณภาพของตนอยู่เสมอ และหากประเทศใดประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ถือว่าทรัพยากรมนุษย์ของประเทศนั้นย่อมมีคุณภาพดีกว่าประเทศอื่นๆ และการรู้สารสนเทศยังเป็นวิธีแห่งการมีอำนาจของบุคคลในสังคมสารสนเทศอีกด้วย ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของประเทศในยุคนี้
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการสร้างสังคมสารสนเทศและสังคมความรู้ เป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นในสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของมนุษย์เอาไว้ 4 ประการ คือ
                1. Learn to know เรียนเพื่อให้มีความรู้และมีวิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ วิธีการเรียนรู้ที่ได้มาไปต่อยอด แสวงหาหรือผลติสร้างความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ
                2. Learn to do เรียนเพื่อที่จะทำเป็น หรือใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างประโยชน์แก่สังคม
                3. Learn to live with the others เรียนเพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมอย่างมีความสุข และสร้างสรรค์
                4. Learn to be เรียนเพื่อที่จะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ สามารถพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ หรือพัฒนาตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
                จะเห็นได้ว่า 2 ใน 4 เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาลักษณะนิสัยทางจริยธรรม แบบที่3 และ4 เป็นการเรียนรู้เพื่อการมีจริยธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในการพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ เพื่อสร้างลักษณะนิสัยทางจริยธรรมเพื่อความเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม คือ การสร้างกระบวนการเรียนรู้

3.เทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนี้
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
                   กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ
แหล่งที่มา 1.  http://203.154.140.2/ict1/1/page_2.htm


3.ข้อมูล  

          ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น


          ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ  เช่นเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่างๆ  เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่างๆ ดังนี้

1.การรับรู้ข้อมูลทางตา  ได้แก่ การมองเห็น เช่นข้อมูลภาพ จากหนังสือ โทรทัศน์ เป็นต้น

2.การรับรู้ทางหู ได้แก่ การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู เช่น ข้อมูลเสียงเพลง เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น

3.การรับรู้ทางมือ ได้แก่ การสัมผัสกับข้อมูล เช่น การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น

4.การรับรู้ทางจมูก ได้แก่ การได้กลิ่น เช่น หอมกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ กลิ่นขยะ เป็นต้น

5.การรับรู้ทางปาก ได้แก่ การรู้สึกถึงรส โดยการสัมผัสทางลิ้น เช่น เผ็ด หวาน ขม เป็นต้น

          ชนิดของข้อมูลแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้

1. ข้อมูลตัวเลข จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น เช่น 145, 2468 เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ

2. ข้อมูลอักขระ ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่างๆ เช่น บ้าน
    เลขที่ 13/2 เป็นต้น ถ้ามีตัวเลขประกอบ จะมิได้นำมาคำนวณ

3. ข้อมูลภาพ รับรู้จากการมองเห็น เช่น ภาพดารา ภาพสัตว์ต่าง ๆ

4. ข้อมูลเสียง รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน เช่นเสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น


ที่มา : http://blog.eduzones.com

  
4.ฐานความรู้        
  ฐานความรู้ knowledge base เป็นแหล่งเก็บสารสนเทศที่มีวิธีการรวบรวม จัดการ แบ่งปัน สืบค้น และนำสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มันอาจเป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้หรือตั้งใจให้มนุษย์ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
     

ที่มา : https://th.wikipedia.org

ตัวอย่างการใช้ในชีวิตประจำวัน

          ในที่ทำงานของดิฉันฐานข้อมูลที่ใช้คือข้อมูลทางด้านวัตถุดิบที่มีการจัดเก็บในซอฟแวร์ ทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถค้นหาประวัติการรับเข้า จำนวนวัตถุดิบคงเหลือ ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย ได้ เมื่อมีการแก้ไขข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง ทุกคนจะสามารถเห็นได้เหมือนกัน โดยไม่ต้องแก้ไขที่ข้อมูลของแต่ละบุคคล


2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตังอย่าง     


           ระบบสารสนเทศส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างคล้ายรูปทรงปิระมิด คือ มีฐานกว้าง ยอดเป็นมุมแหลม ซึ่งหมายถึงขอบเขตความกว้างขวางของปริมาณข้อมูลที่มีมากในระดับล่าง และลดหลั่นลงไปเมื่อถึงยอด แบ่งออกเป็น 4 ระดับชั้น โดยแต่ละระดับมีลักษณะดังนี้         
           1. ระดับล่างสุดหรือ (Transaction Processing) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลรายการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลเป็นจำนวนมาก ๆ ในการทำงานประจำวัน จัดว่าเป็นพื้นฐานของระบบสารสนเทศในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับสร้างหรือจัดรูปแบบใหม่ในรูปของรายงานที่จะเสนอระดับสูงต่อไป
           2. ระดับที่สอง  (Operation  Control)   หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับล่าง เพื่อใช้ในการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจเกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน
           3. ระดับที่สาม  (Management Control)   หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับกลาง ใช้ในการจัดการและวางแผนงานระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือแผนยุทธวิธีให้
ดำเนินไปตามแผนระยะสั้นนั้นได้ และจะเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น ของคู่แข่งหรือของตลาดโดยรวม เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับนี้ยังต้องการระบบที่ให้รายงานการวิเคราะห์แบบ ถ้า-แล้ว (What - IF) นั่นคือสามารถทดสอบได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ตัวเลขหรือสารสนเทศต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นเช่นไร เพื่อให้จำลองสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการได้
           4. ระดับที่สี่ หรือ  (Strategic Planing)หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับ
ผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนระยะยาวหรือแผนกลยุทธ์ ซึ่งเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร ระบบสารสนเทศที่ต้องการจะเน้นที่รายงานสรุป รายงานแบบ What-if และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ (trand analysis)
          การจัดโครงสร้างทั้งสี่ระดับนี้ไม่ได้หมายความว่า การใช้สารสนเทศแยกกันโดยเด็ดขาด แต่เป็นการแบ่งเพื่อความสะดวกในการพิจารณาว่า ผู้บริหารแต่ละระดับมีความต้องการข้อมูลที่ต่างกัน ในแต่ระดับอาจต้องการสารสนเทศที่จัดเตรียมขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า หรือบางครั้งอาจต้องใช้ข้อมูล
ใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น