บทที่ 5 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ระบบสารสนเทศ

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ระบบสารสนเทศ

 

1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไรจงอธิบาย

    อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น   ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย

สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (เช่น อินเทอร์เน็ต) อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง   คือ
       อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
       1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อั
นทำให้เหยื่อได้รับ
ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
      2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
และในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
 
     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ

อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )


2. อธิบายความหมายของ

   2.1 Hacker
         แฮกเกอร์ คือ ผู้ค้นหาจุดอ่อนของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่าย แล้วลักลอบเข้าไปในระบบ เพื่อกระทำการบางอย่างที่ระบบไม่ได้เตรียมป้องกันไว้ ซึ่งมีแรงจูงใจในการกระทำมาจากผลประโยชน์ การประท้วง ท้าทาย หรือช่วยหาจุดบกพร่อง
2.2 Cracker
   การก่ออาชญากรรมทางโลกไซเบอร์ มีลักษณะคล้ายกกับแฮกเกอร์แต่แตกต่างกันตรงความคิดและเจต ณา แฮกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในทางที่มีประโยชน์ ส่วนแครกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในการทำความผิด เช่น การขโมยข้อมูล การทำลายข้อมูล หรือแม้กระทั่งการครอบครองคอมพิวเตอร์คนอื่น
2.3 สแปม

   คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่ง อีเมลประเภทหนึ่งที่เราไม่ต้องการ ซึ่งจะมาจากทั่วโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่า ผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจาก อีเมลสแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และเอสเอ็มเอสสแปม
การส่งสแปมเริ่มแพร่หลายเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชวนทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน และในขณะเดียวกันกฎหมายเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสแปมยังไม่ครอบคลุม จนกระทั่งเริ่มมีใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ในประเทศสหรัฐอเมริกา
2.4 โทรจัน
    หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์
2.5 สปายแวร์
  โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเวบไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเวบประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง

3.จงยกตัวอย่างกฏหมาย ICT  หรือ พรบ คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้างและบทลงโทษ 5 อย่าง


การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์คืออะไร 
            แม้ว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การจำหน่ายซีดีรอมปลอมตามร้านจำหน่ายปลีก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์อีกหลายรูปแบบ ซึ่งต่างก็สร้างความสูญเสียให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ปีละหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ
            การการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยทั่วไปมี 5 ลักษณะได้แก่
            1.การละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้
                        เป็นรูปแบบการสร้างความเสียหายต่อ BSA มากที่สุด เรียกกันว่า "การละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้ในองค์กร" เกิดจากการที่องค์กรธุรกิจ ทำการสำเนาซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
            2.การใช้งานจำนวนมากในเครือข่าย
                        เกิดจากการมีผู้ใช้งานจำนวนมากในเครือข่ายเข้าใช้ซอฟต์แวร์ที่ส่วนกลางพร้อมกัน
            3.การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเตอร์เน็ต
                        แม้จะมีผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ผ่านอินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องก็ตาม แต่ก็มีการละเมิดลิขสิทะผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นจำนวนมากได้เช่นกัน ได้แก่  
                        - เว็บไซต์ที่เปิดให้ดาว์นโหลดหรือแลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์ทางการค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
                        - เว็บไซต์ที่เสนอการประมูลซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย, ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือซอฟต์แวร์ที่ไม่ตรงกับช่องทางจำหน่ายที่กำหนด 
                        - เครือข่าย Peer-to-Peer ที่อนุญาตให้แลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์ระหว่างกัน
            การละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านอินเตอร์เน็ต ยังถือเป็นเรื่องคุกคามการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญที่สุด
            4.การติดตั้ง ซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์
                        เกิดจากการที่ผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้าอย่างผิดกฎหมาย เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อ
            5. การสำเนาซอฟต์แวร์อย่างผิดกฎหมาย
                        คือการทำสำเนาอย่างผิดกฎหมาย หรือจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยเจตนา สำหรับกรณีของซอฟต์แวร์ที่มีบรรจุภัณฑ์นั้นพบว่า ได้มีการจำหน่ายซีดีหรือดิสก์เก็ตที่ทำสำเนาอย่างผิดกฎหมายพร้อมด้วยคู่มือ, สัญญาการใช้งานและบัตรลงทะเบียนโดยมีบรรจุภัณฑ์และคุณสมบัติป้องกันการปลอมแปลงที่เหมือนกันกับผลิตภัณฑ์ของแท้ให้เห็นเช่นกัน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
            ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ("พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์") โดยจัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม (Literary work)
            ตามพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ กำหนดว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือให้ได้ผลอย่างหนึ่งอย่างใด ในกรณีที่บุคคลใด ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคคลนั้นจะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท
            และหากเป็นการกระทำเพื่อการค้า จะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            นอกจากนี้ หากผู้ใดรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น แต่ยังนำไปขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ นำเข้าหรือสั่งเข้ามาในประเทศไทย เพื่อหากำไร ก็มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาทและหากเป็นการทำเพื่อการค้าผู้นั้นจะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            นอกเหนือจากการแก้ไขบรรเทาความเสียหายในคดีอาญาแล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง ในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ภายใต้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์หากศาลพบว่ามีการกระทำความผิดจริงอาจมีคำห้ามมิให้กระทำละเมิดอีกต่อไป และมีคำสั่งให้ชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอันเนื่องจากการละเมิดดังกล่าว

สิทธิตามกฎหมาย
            ภายใต้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ได้ให้ความคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยให้สิทธิแก่ผู้สร้างสรรค์เพียงผู้เดียว ในงานที่มีลิขสิทธิ์ดังกล่าว ดังต่อไปนี้
            - สิทธิในการสำเนาทั้งหมดหรือบางส่วนของโปรแกรม
            - สิทธิในการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงโปรแกรม สิทธิในการเผยแพร่งานต่อสาธารณชน
            - สิทธิในการให้ผู้อื่นเช่าโปรแกรม
            นั้นหมายความว่า คุณสามารถสำเนา, ดัดแปลง หรือเช่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ หากเจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาต โดยอยู่ในรูปของการให้สิทธิในการใช้งาน (license) ดังนั้น ทุกครั้งที่คุณซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างถูกกฎหมาย คุณจะได้รับสัญญาสิทธิการใช้งาน (License Agreement) ซึ่งจะระบุสิทธิที่คุณได้รับเพื่อการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นหากคุณกระทำสิ่งที่สัญญาไม่อนุญาต หรือขัดต่อ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ จะถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและต้องรับโทษ

เราสามารถหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมายได้อย่างไร?
            วิธีง่าย ๆ ก็คือ ซื้อและใช้แต่ซอฟต์แวร์ของแท้เท่านั้น
            ลักษณะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่อนุญาตต่อผู้ใช้ จะถูกระบุไว้ในสัญญาการใช้งาน ดังนั้น คุณควรอ่านสัญญาการใช้งานเสมอ เพื่อให้ทราบถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์
            อย่างไรก็ตามคุณจะไม่ทำผิดกฎหมาย หากปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์จากสมาชิกของ BSA
              - ไม่ติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์เดียวกันบนคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน
              - ทำสำเนาเพียง 1 ชุด เพื่อจุดประสงค์ในการสำรองซอฟต์แวร์เท่านั้น
              - ไม่ติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่เซิร์ฟเวอร์
              - ไม่ให้ผู้อื่นยืมซอฟต์แวร์ของคุณไปใช้

ทำไมเราจึงควรให้ความใส่ใจ ?
            หากคุณติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย หรือทำซ้ำซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต คุณอาจต้องโทษปรับหรือจำคุก และนอกจากความผิดทางกฎหมายแล้วคุณอาจเสี่ยงต่อ
            - การเสียเวลา
            - การสูญเสียเงิน
            - การสูญเสียความน่าเชื่อถือ
            - การสูญเสียธุรกิจ
            หนึ่งในอันตรายที่รุนแรงที่สุดจากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายก็คือ อันตรายต่อข้อมูลที่มีค่าของคุณ เนื่องจากซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายมักมีไวรัสหรือไฟล์ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งมีโอกาสทำให้ระบบขององค์กรหยุดทำงาน
        และสิ่งสำคัญที่ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายไม่มีให้กับผู้ใช้คือ เอกสารประกอบฉบับจริง, การสนับสนุนทางเทคนิค, การอัพเกรดซอฟต์แวร์ และการรับประกันคุณภาพ
         คุณจึงไม่สามารถวางใจต่อประสิทธิภาพการทำงานของซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย และยังเป็นสิ่งบั่นทอนประสิทธิผลในทุก ๆ ด้านขององค์กรของคุณลงทุนไป

จะทราบได้อย่างไรว่า ได้รับซอฟต์แวร์ของแท้?
            การบอกว่าซอฟต์แวร์ที่ได้รับเป็นของแท้หรือของปลอมไม่ได้เป็นเรื่องง่ายเสมอไป เนื่องจากซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายไม่น้อยที่จัดทำบรรจุภัณฑ์และองค์ประกอบต่าง ๆ ได้เหมือนกับผลิตภัณฑ์ของแท้ อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตต่อไปนี้อาจบ่งบอกถึงซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายได้
            - มีราคาถูกกว่าปกติมาก
            - โปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซีดีที่รวมซอฟต์แวร์จำนวนมากไว้ด้วยกัน โดยมาจากผู้พัฒนาที่ต่างกันด้วย
            - แผ่นซีดีมีสีทอง
            - ผู้ซื้อได้รับเฉพาะกล่องซีดีหุ้มด้วยพลาสติก
            - ไม่มีบรรจุภัณฑ์สำหรับการจำหน่ายปลีก
            - ผู้ซื้อไม่ได้รับสัญญาการใช้งาน, บัตรลงทะเบียน หรือคู่มือซอฟต์แวร์
            - หากไม่แน่ใจว่าได้รับผลิตภัณฑ์ของแท้หรือไม่ กรุณาติดต่อขอคำแนะนำจาก BSA

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์
            กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือบีเอสเอ (www.bsa.org) เป็นผู้นำที่ทุ่มเทให้กับการส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นกระบอกเสียงให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และคู่ค้าฮาร์ดแวร์ทั่วโลก เพื่อสื่อสารกับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ และในตลาดการค้าระหว่างประเทศ สมาชิกของบีเอสเอเป็นตัวแทนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก โครงการของบีเอสเอสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยีผ่านโครงการเพื่อการศึกษาและนโยบายที่ส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์, การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์, การค้า และอีคอมเมิร์ส ทั้งนี้ บีเอสเอ มีสมาชิกดังนี้
            อะโดบ, แอปเปิ้ล, ออโต้เดสต์, อาวิด, เบนลี่ ซิสเต็มส์, บอร์แลนด์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล, แมคอาฟี, ไมดครซอฟท์, โมโนไทพ์ อิเมจิ้ง, พีทีซี, ควาร์ก, คเวซท์ วอฟต์แวร์, ซีเมนส์ พัแอลเอ็ม ซอฟต์แวร์, โซลิดเวิร์กส์, ไซเบส, ไซแมนเทค และเดอะ แมธเวร์กส์ สมาชิกในเอเชียรวมถึง อาจิเลียเทคโนโลยี, อัลเทียม, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ควาเลอร์ คัมปานี), ไอนัส เทคโนโลยี, ไมเจ็ท, มินิแทบ, เอสพีเอสเอส, เทคล่า และเทรนด์ไมโคร สมาชิกในประเทศไทยรวมถึงไทยซอฟท์แวร์ เอ็นเตอร์ไพรส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น